เมนู

ชราและมรณะดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็น
ปัจจัย.
[430] คำว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
ประการอย่างนี้
นั้น ได้แก่ ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความ
ปรากฏแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น จึง
เรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
อกุศลมูลกวิบากนิเทศ จบ
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
ปัจจยาการวิภังค์ จบบริบูรณ์

อกุศลมูลวิบากนิเทศ

(บาลีข้อ 416)

ว่าด้วยอกุศลวิบากจิต 7


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะทรงแสดงปัจจยาการแม้ใน
อัพยากฤตทั้งหลาย โดยนัยอื่นอีกทีเดียว จึงทรงเริ่มคำมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา
อพฺยากตา
ธรรมเป็นอัพยากฤตเป็นไฉน ดังนี้.
ในพระบาลีนั้น คำว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย แม้นี้ ตรัส
หมายเอาความเป็นอุปนิสสยปัจจัย จริงอยู่ กุศลมูลย่อมเป็นปัจจัยแก่กุศลวิบาก
และอกุศลมูลเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่อกุศลวิบาก แต่ไม่ควรกล่าวถึงกรรมปัจจัย
ที่เกิดต่างขณะกันทีเดียว ฉะนั้น ปัจจัยที่เป็นกุศลมูล และอกุศลนี้ จึงเป็น
ปัจจัย ด้วยอุปนิสสยปัจจัย และกรรมปัจจัยที่เกิดต่างขณะกัน ด้วยเหตุนั้นแหละ

ในนิเทศวาร จึงไม่จำแนกว่า ตตฺถ กตมํ กุสลมูลํ ในปัจจยาการนั้น
กุศลมูลเป็นไฉน ทรงจำแนกว่า ตตฺถ กตโม กุสลมูลปจฺจยา สํขาโร
ในปัจจยาการนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน ดังนี้. แม้ใน
อกุศลวิบากก็นัยนี้เหมือนกัน.
อนึ่ง ในวิบากนิเทศแม้นี้ ย่อมได้เฉพาะปัจจยจตุกะที่หนึ่งเท่านั้น
ดุจในนิเทศแห่งอกุศลมีอวิชชาเป็นมูล แม้ปัจจยจตุกะนั้น ก็ทรงแสดงปฐมวาร
แล้วทรงย่อไว้ ฉะนั้น พึงทราบประเภทแห่งวาระ ในนัยที่มีกุศลเป็นมูลและ
อกุศลเป็นมูล ด้วยอำนาจจตุกะแต่ละจตุกะในวิปากจิตแต่ละดวง แต่เพราะ
อวิชชา และกุศลมูล อกุศลมูล ย่อมไม่ได้ความเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ธรรมที่-
เป็นกิริยา ฉะนั้น จึงไม่ควรกล่าวปัจจยาการ ด้วยอำนาจกิริยาแล.
ด้วยประการฉะนี้ ปัจจยาการนี้
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีวาทะประ-
เสริฐตรัสไว้ โดยประเภทมิใช่น้อย ในธรรม
ที่เป็นอกุศล กุศล และอัพยากฤต ส่วนใน
วิบากแห่งกุศลและอกุศล ตรัสไว้อย่างเดียว
เท่านั้น ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย เพื่อความ
แตกฉานปรีชาญาณ ในประเภทธรรมที่เป็น
ปัจจัย เพราะเมื่อเว้นลำดับแห่งปริยัติ การฟัง
การคิดการปฏิบัติย่อมไม่แตกฉานปรีชาญาณ
ในปัจจยาการนี้ แม้ในกาลไหน ๆ ฉะนั้น

นักปราชญ์ ผู้มีปัญญาทรงจำ ควรทำในปัจจ
ยาการนั้น โดยลำดับแห่งปริยัติ การฟัง การ
คิด และปฏิบัติในกาลทุกเมื่อ เพราะกิจอื่นที่
ควรทำยิ่งกว่าปัจจยาการนั้น มิได้มี ฉะนี้แล.


วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ
ก็ในปัจจยาการนี้ พระองค์ทรงนำออกจำแนกแสดงไว้ 2 ปริวรรค คือ
ด้วยอำนาจสุตตันตภาชนีย์ และอภิธรรมภาชนีย์เท่านั้น ดังนี้แล.
ปฏิจจสมุปปาทวิภังคนิเทศ จบ